วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สารคดีภาพยนตร์


ประวัติความเป็นมา
      ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาทีต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้ พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบันภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD, DVD Blu-ray Disc เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต
                    ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่ง จำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกัน เป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสีเพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง 


วิจารณ์หนัง



            
              
  .
        สิ่งที่ท่านจะได้รับจากหนังเรื่อง Dunkirk

Dunkirk คือปฎิบัติการทางการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่เค้าว่ากันว่าสำคัญที่สุดจริงๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับทหารอังกฤษและฝรั่งเศสตกอยู่กลางทะเลใกล้ๆชายฝั่งบริเวณเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งแถวๆ ประเทศฝรั่งเศษ ทางการอังกฤษเองมีความจำเป็นต้องลำเลียงนำทหารที่ตกอยู่ในวงล้อมของทหารนาซีกลับบ้านทั้งหมดร่วมสี่แสนนาย ซึ่งมันเป็นปฏิบัติการที่ยากมาก เอาจริงๆมันแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลย ทหารทั้งหมดเกือบสี่แสนนายทั้งบาดเจ็บ ทั้งหนีตายเป็นจำนวนมาก นี่คือเหตุการณ์ที่ผู้กำกับโนแลนเลือกเอามาใช้ในการทำหนังสงครามเรื่องเยี่ยมเรื่องนี้ โดยโนแลนตัดสินใจใช้การเล่าเรื่องแบบแบ่งเรื่องเป็น ลำดับๆ ตัดๆ เป็นท่อนๆ โดยใช้งานทางด้านภาพและดนตรีประกอบที่ดุดัน และเทคนิคทางด้านเสียงเอามาประกอบกัน โดยตัวละครเด่นของเรื่องอาจจะไม่ใช่นักแสดง แต่มันคือ ภาพ ซาวด์ ดนตรี และ "เวลา" นี่คือจุดขายของโนแลน ที่ยังคงใช้ เวลา เป็นตัวละครเด่นของเรื่อง และดนตรีประกอบของหนังคือโดดเด่นออกมาจากตัวหนังจนบางคนอาจจะมองว่าเล่นใหญ่เกินไป แต่โดยส่วนตัวผมกลับมองว่าดนตรีประกอบนี่แหละ โคตรสร้างแรงกดดันให้กับหนังเลย
     
            งานโปรดักชั่น โดยเฉพาะงานภาพ ขอบอกเลยผมเองก็คาดไม่ถึงว่า โนแลนเลือกที่จะมาสายหนังอาร์ต  ด้วยการสร้างสรรค์งานภาพออกมาเล่าเรื่องแทนบทพูดทุกอย่างของตัวละคร การตัดลำดับแบบสลับไปสลับมา แล้วใช้ดนตรีประกอบ ภาษากายของนักแสดง สีหน้านักแสดงเป็นตัวเล่าเรื่องแทนบทพูด บทพูดในหนังมีบ้าง ไม่มากนัก แต่งานเล่าเรื่องด้วยภาพ พูดเลยว่าเฉียบและคมมาก ภาพและดนตรีร้อยต่อเข้าด้วยกัน นำพาคนดูเข้าถึงบรรยากาศสงครามไปด้วย หนังชวนอึดอัดกดดันไปทั้งเรื่อง             


     

 สิ่งที่ท่านจะได้รับจากหนังเรื่อง  War for the Planet of the Apes
War for the Planet of the Apes คืองานไตรภาคที่มาถึงบทสรุปที่เกิดจากความพยายามท้าทายธรรมชาติของมนุษย์ ความอวดดี ถือดีที่อยากจะเอาชนะธรรมชาติ การหยิบยื่น ปัญญา และ สมอง ให้กับสิ่งมีชีวิตอย่างเผ่าพันธุ์ลิง โดยที่ลืมไปว่า เมื่อมันมีปัญญา มันก็มีเลือดเนื้อและมีจิตใจเหมือนกับคนเรานั่นแหละ งานในภาคแรก อาจจะกล่าวถึงสายใยของคนและลิง ที่ก่อตัว สวยงาม มีความรักความผูกพันธุ์ ภาคต่อมาอาจจะเริ่มพูดถึงจุดแตกหัก ที่เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นสงคราม และในภาคนี้ War for the Planet of the Apes คือการก่อตัวของสงครามเต็มรูปแบบ ที่ทั้งคนและลิงจะไม่มีวันยอมให้กันเด็ดขาด ซีซ่า คือลิงเพียงตัวเดียวที่รู้ภาษามนุษย์ เคยอยู่กับมนุษย์ และมีความเชื่อว่าอย่างเลวร้ายที่สุด เผ่าพันธุ์คนกับมนุษย์นั่นหากต่างคนต่างอยู่ ไม่ทำร้ายกัน มันก็น่าจะอยู่ร่วมกันได้ แต่เมื่อเค้าถูกทำร้ายหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ สัญชาติญาณดิบของซีซ่าจึงเริ่มก่อตัวขึ้น และเริ่มหันมาต่อสู้กับมนุษย์!!! 



งาน CG เกือบทั้งเรื่อง แต่ความงดงามของ CG ที่รังสรรค์ออกมาเป็นกองทัพลิงก็ดีมันเป็นสร้างสรรค์ศิลปะที่เอามาหลอมรวมกับวิทยาการได้อย่างลงตัว 

บรรณาธิการ



บรรณาธิการ

ท่านมีความสนใจเรื่องการรับชมภาพยนตร์กันใช่ไหมครับ  ถ้าท่านอยากรับรู้อยากทราบความเป็น  มาความเคลื่อนไหวของของภาพยนตร์  Blog ของเราจะพาท่านได้พบกับความความแปลกใหม่ของ สิ่งเหล่านี้   ความแตกต่างในการเสนอเรื่องราวเนื้อหาที่แปลกใหม่  ฉีกกฎทิศดีที่เคยมีมา 

เราจะใช้  Blog นี้เป็นสื่อกลางให้พวกท่านได้ออกความคิดเห็น ไม่ใช่แค่ทางเราที่จะให้ข้อมูลท่าน แต่ท่านสามารถแนะนำความคิดเห็นของพวกท่านได้  Blog นี้สร้างขึ้นมาเหมือนเป็นที่ให้กลุ่มคนที่รักในการรับชมภาพยนตร์ เป็นเสมือนแหล่งรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  เราตั้งใจที่จะค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดมาให้พวกท่านได้อ่าน อาทิ เช่น ภาพยนตร์ที่น่ารับชมในช่วงสัปดาห์  การแนะนะคำวิจารณ์ของนักวิจารณ์ ชื่อดัง แนะนำโรงภาพยนตร์ที่คู่ควรต่อการรับชมของพวกท่านอยากให้


ทุกท่านมาร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกับเรา
เราตั้งใจหาเนื้อหาข้อมูลต่างๆ มาให้พวกท่านได้รับทราบ 


PRECINEMAX







      การชม ภาพยนตร์ ทุกวันนี้การชมภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงเป็นที่แพร่หลายในทุกหมู่เหล่า ทุกวัย   ทุกช่วงอายุ แต่ในความบันเทิงนั้นๆ มีสิ่งที่ซ่อนเร้นที่ทำให้เราค้นหาอยู่มากมาย บางคนต้องการสิ่งจูใจหรือแนวทางชี้นำในการตัดสินใจในการที่จะดูภาพยนตร์ จึงเป็นสิ่งที่ทาง Blog ของผมนั้นได้เล็งเห็นถึงสิ่งที่คนต้องการ นั่นก็คือ การวิจารณภาพยนตร์หรือที่ได้ยินติดหูก็คือการรีวิวภาพยนตร์ นั่นเอง


     การวิจารณ์หนังหรือภาพยนตร์ ก็เหมือนกับการที่เราวิจารณ์เรื่องอื่นๆ นั่นก็คือการแสดงความคิดเห็นของตัวเองลงไปในภาพยนตร์นั้นๆ แต่ว่า มีบทบาทแนวทางวิธีการที่มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ใช้อารมณ์ เป็นสิ่งที่นำมาตัดสินใจ สำหรับการประเมินก็คือ การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล ภาพยนตร์เรื่องนั้นมีคุณค่าแค่ไหนดีอย่างไรไม่ดีอย่างไร มีคุณภาพหรือไม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ชมท่านอื่นๆ